หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้
Master of Science Program in Forest Resource Management
รหัสหลักสูตร 25230021100029
เล่มหลักสูตร มคอ. 02
ปรัชญา
ผลิตมหาบัณฑิต ที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยผสมผสานความรู้และพัฒนาความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน เนื่องจากป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การดำเนินการเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากป่าไม้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อจะได้กำหนดทิศทางและวิธีการในการจัดการดูแลป่าไม้ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญ
จากสถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้ในปัจจุบันและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในและต่างประเทศ ที่ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างรายได้จากป่าไม้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรับรองป่าไม้ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน เนื่องจากป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การดำเนินการเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากป่าไม้อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยวิชาการด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อจะได้กำหนดทิศทางและวิธีการในการจัดการดูแลป่าไม้ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างเหล่านี้จึงมีความจำเป็นในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านทฤษฎี หลักการและการปฏิบัติ รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและรับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ
หลักสูตร แผน ก แบบ ก2
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิต
– วิชาเอกบังคับ 6 หน่วยกิต
– วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
ข. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
รายวิชา
ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
– วิชาสัมมนา 2 หน่วยกิต
01304597 สัมมนา (seminar) 1,1
– วิชาเอกบังคับ 6 หน่วยกิต
01304511 การจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resource Management) 3(3-0-6) 01304591 เทคนิคการวิจัยทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Research Techniques in Forest Resource Management) 3(3-0-6)
– วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
ให้นิสิตเลือกเรียนจากเฉพาะกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งใน 6 กลุ่มวิชาต่อไปนี้ และไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชานโยบายและบริหารทรัพยากรป่าไม้
01304512 นโยบายทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resource Policy) 3(3-0-6)
01304513 การวางแผนจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resource Management Planning) 3(3-0-6)
01304514 การป่าไม้โลก (Global Forestry) 3(3-0-6)
2) กลุ่มวิชาชีวมิติป่าไม้
01304521 ชีวมิติป่าไม้ประยุกต์ (Applied Forest Biometry) 3(2-3-6)
01304522 การสร้างตัวแบบการเติบโตและผลผลิตของป่าไม้ (Forest Growth and Yield Modeling) 3(2-3-6)
01304523 กำหนดการเชิงคณิตศาสตร์สำหรับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Mathematical Programming for Forest Resource Management) 3(3-0-6)
3) กลุ่มวิชาการรับรู้จากระยะไกล
01304531 การรับรู้ระยะไกลและการประมวลผลภาพ (Remote Sensing and Image Processing) 3(2-3-6)
01304532 การรับรู้ระยะไกลระบบแอคทีฟและวิธีการประมวลผลข้อมูล (Active Remote Sensing and Data Processing) 3(2-3-6)
01304534 ภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Geo-informatics for Forest Resources Management) 3(2-3-6)
4) กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้
01304541 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้ขั้นสูง (Advanced Forest Resources Economics) 3(3-0-6)
01304542 เศรษฐศาสตร์ธุรกิจป่าไม้ (Economics of Forest Business) 3(3-0-6) 01304544 การตลาดผลิตภัณฑ์ป่าไม้ (Forest Products Marketing) 3(3-0-6)
5) กลุ่มวิชาการสำรวจและระบบสารสนเทศทรัพยากรป่าไม้
01304551 วิธีการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ (Methods of Forest Resource Inventory) 3(3-0-6)
01304552 การประมวลผลข้อมูลทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resource Data Processing) 3(2-3-6)
01304553 การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite Imagery for Resources Survey) 3(2-3-6)
6) กลุ่มวิชาวนศาสตร์ชุมชนและส่งเสริมการป่าไม้
01304561 ระบบวนเกษตรและการจัดการ (Agro-Forestry Systems and Management) 3(3-0-6)
01304562 การจัดการของป่า (Management of Minor Forest Products) 3(3-0-6)
01304563 วนศาสตร์ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน (Social Forestry for Sustainable Forest Resources Management ) 3(3-0-6)
01304564 การส่งเสริมการป่าไม้ประยุกต์ (Applied Forestry Extension) 3(3-0-6)
01304565 ป่าชุมชนและการจัดการ (Community Forest and Management) 3(3-0-6)
และให้เลือกเรียนรายวิชาที่มีเลขรหัสสามตัวท้ายตั้งแต่ 500 ขึ้นไปที่เปิดสอนในภาควิชาการจัดการป่าไม้ หรือเลือกเรียนวิชาในสาขาวิชาอื่น ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำตัวนิสิตโดยความเห็นชอบของหัวหน้าภาคหรือประธานสาขา และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยดังตัวอย่างรายวิชาต่อไปนี้
01304515 การจัดการเพื่อผลผลิตไม้อย่างยั่งยืน (Sustainable Timber Management) 3(3-0-6)
01304516 การรับรองป่าไม้ (Forest Certification) 3(3-0-6)
01304524 รุกขภูมิอากาศวิทยา (Dendroclimatology) 3(2-3-6)
01304533 การวิเคราะห์ข้อมูลรับรู้ระยะไกลในทางป่าไม้ (Remote Sensing Data Analysis in Forestry) 3(2-3-6)
01304543 การป่าไม้และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Forestry and Economic Development) 3(3-0-6)
01304554 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Forest Resource Management Information System) 3(3-0-6)
01304566 ภาวะผู้นำกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน (Leadership and Sustainable Forest Management) 3(3-0-6)
01304567 การพัฒนาและประเมินผลโครงการป่าไม้ (Development and Evaluation of Forestry Project) 3(3-0-6)
01304596 เรื่องเฉพาะทางการจัดการทรัพยากรป่าไม้ (Selected Topics in Forest Resource Management) 1-3
01304598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
ข. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
01304599 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 12 หน่วยกิต