หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้
Master of Science Program in Forest Biological Science
รหัสหลักสูตร 25230021100097
เล่มหลักสูตร มคอ.2
ปรัชญาและความสำคัญ
สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติภารกิจ ให้เป็นไปตามปรัชญาของคณะวนศาสตร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีปณิธานคือ สอนดี วิจัยดี บริการวิชาการดี มีคุณธรรม นำศาสตร์ชีววิทยาป่าไม้ให้เด่น เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของทรัพยากรธรรมชาติ คือทรัพยากรชีวภาพ (Bioresources) ที่ประกอบด้วย พืช สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อโครงสร้าง และหน้าที่ทางนิเวศ จากความสำคัญของทรัพยากรชีวภาพดังกล่าวที่มีความเชื่อมโยงต่อนิเวศบริการ (Ecological services) และสิ่งแวดล้อมแล้ว การให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นต่อการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ยารักษาโรค และสารเคมีธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพมากขึ้นเป็นเงาตามตัว สิ่งที่มีชีวิตจำนวนมากสูญพันธุ์ หรืออยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ทำให้สถานภาพของความหลากหลายทางชีวภาพไม่มั่นคงและเป็นประเด็นที่ทุกประเทศให้ความสำคัญ มีการประกาศอนุสัญญาต่างๆ มีองค์กรสนับสนุนเงินวิจัยเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน จึงทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านทรัพยากรชีวภาพจำนวนมาก ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้เป็นภาควิชาหลักที่รับผิดชอบการสอนและวิจัยด้านทรัพยากรชีวภาพของประเทศ มีความพร้อมทั้งบุคลากร สถานที่ และอุปกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ ให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางทฤษฎี ปฏิบัติ และเสริมสร้างทักษะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถปฏิบัติงานในการจัดการทรัพยากรชีวภาพป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้มหาบัณฑิตมีทักษะในการวิจัยและจัดการทรัพยากรชีวภาพป่าไม้ เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมความรู้ใหม่ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพป่าไม้อย่างยั่งยืน
3. เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านทรัพยากรชีวภาพป่าไม้ของภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรแผน ก แบบ ก2
จำนวนหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
– สัมมนา 2 หน่วยกิต
– วิชาเอกบังคับ 6 หน่วยกิต
– วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
ข. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
รายวิชา
ก. วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
– สัมมนา 2 หน่วยกิต
01302597 สัมมนา (Seminar) 1,1
– วิชาเอกบังคับ 6 หน่วยกิต
01302512 นิเวศวิทยาป่าไม้เชิงปริมาณ (Quantitative Forest Ecology) 3(3-0-6)
01302591 เทคนิคการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Research Techniques in Forest Biological Science) 3(3-0-6)
– วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต
ให้เรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต หรือ เลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และ เลือกเรียนรายวิชานอกกลุ่มวิชาอีกไม่น้อยกว่า 7 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชานิเวศวิทยาป่าไม้และพื้นที่ชุ่มน้ำ
01302511 การวิเคราะห์สังคมพืช (Plant Community Analysis) 3(2-3-6)
01302513 นิเวศวิทยาเขตเมือง (Urban Ecology) 3(3-0-6)
01302514 นิเวศวิทยาป่าไม้ประยุกต์ (Applied Forest Ecology) 3(3-0-6)
01302521 นิเวศวิทยาพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ (Forest Wetland Ecology) 3(3-0-6)
01302596 เรื่องเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Selected Topics in Forest Biological Science) 1-3
01302598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
– กลุ่มวิชาอนุกรมวิธานพรรณไม้ป่า และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
01302531 ทรัพยากรพันธุกรรมไม้ป่าและการจัดการ (Forest Plant Genetic Resources and Management) 3(3-0-6)
01302532 อนุกรมวิธานของพรรณไม้ป่าขั้นสูง (Advanced Forest Plant Systematics) 3(2-3-6)
01302533 นโยบายและการวางแผนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Conservation Policy and Planning) 3(3-0-6)
01302534 เทคนิคนิติวิทยาศาสตร์ด้านชีวภาพป่าไม้ (Forensic Science Techniques in Forest Biosciences) 3(2-3-6)
01302535 น้ำยางธรรมชาติและชัน (Natural Resin and Gum) 3(3-0-6)
01302536 ความหลากหลายของพืชป่าประเภทหัว (Diversity of Forest Tuberous Plants) 3(3-0-6)
01302537 พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnobotany) 3(3-0-6)
01302538 ภูมิศาสตร์พืชป่า (Forest Plant Geography) 3(3-0-6)
01302596 เรื่องเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Selected Topics in Forest Biological Science) 1-3
01302598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
– กลุ่มวิชาชีววิทยาสัตว์ป่าและการจัดการ
01302541 นิเวศวิทยาประชากรสัตว์ป่าและการจัดการ (Wildlife Population Ecology and Management) 3(2-3-6)
01302542 การจัดการทุ่งหญ้าสำหรับสัตว์ป่าเขตร้อน (Range Management for Tropical Wildlife) 3(3-0-6)
01302543 ชีววิทยาและการอนุรักษ์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ (Biology and Conservation of Endangered Wildlife) 3(3-0-6)
01302544 การวางแผนพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า (Wildlife Conservation Area Planning) 3(3-0-6)
01302545 พฤติกรรมของสัตว์ป่า (Wildlife Behavior) 3(2-3-6)
01302546 ภูมิศาสตร์สัตว์ป่า (Wildlife Geography) 3(3-0-6)
01302551 เทคนิคการขยายพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife Propagation Techniques) 3(2-3-6)
01302596 เรื่องเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Selected Topics in Forest Biological Science) 1-3
01302598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
– กลุ่มวิชาการจัดการแมลงและจุลินทรีย์ป่าไม้
01302561 นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์แมลงป่าไม้เขตร้อน (Tropical Forest Insect Ecology and Conservation) 3(2-3-6)
01302562 พรรณสัตว์ในดินและการสลายตัวในป่าเขตร้อน (Soil Fauna and Decomposition in Tropical Forest) 3(2-3-6)
01302563 กีฏวิทยาป่าไม้ขั้นสูง (Advanced Forest Entomology) 3(3-0-6)
01302564 มดวิทยา (Myrmecology) 3(2-3-6)
01302571 โรคจากเชื้อราในกล้าไม้ป่าและการควบคุม (Fungal Diseases of Forest Tree Seedlings and Control) 3(2-3-6)
01302572 ราที่มีประโยชน์ในระบบนิเวศป่าไม้ (Beneficial Fungi in Forest Ecosystems) 3(2-3-6)
01302573 การป้องกันกำจัดศัตรูป่าไม้ (Forest Pest Control) 3(2-3-6)
01302596 เรื่องเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Selected Topics in Forest Biological Science) 1-3
01302598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
– กลุ่มวิชาสรีรวิทยา พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพป่าไม้
01302581 นิเวศสรีรวิทยาของไม้ยืนต้น (Ecophysiology of Trees) 3(2-3-6)
01302582 สรีรวิทยาของไม้ยืนต้นประยุกต์ (Applied Tree Physiology) 3(2-3-6)
01302583 เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงไม้ป่ายืนต้น (Biotechnology in Forest Tree Improvement) 3(3-0-6)
01302584 เทคโนโลยีการผสมพันธุ์ไม้ป่ายืนต้น (Forest Tree Breeding Technology) 3(2-3-6)
01302585 การเตรียมตัวอย่างไม้ป่ายืนต้นเพื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Specimen Preparation of Forest Tree for Microscopic Investigation) 3(2-3-6)
01302596 เรื่องเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ (Selected Topics in Forest Biological Science) 1-3
01302598 ปัญหาพิเศษ (Special Problems) 1-3
ข. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
01302599 วิทยานิพนธ์ (Thesis) 1-12